บิ๊กเนมอสังหาฯบุกตลาดบ้านสร้างเอง 2ส.รับสร้างบ้านยันไม่กระทบ
วันที่ : 14 เมษายน 2568
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน กล่าวว่า จากการที่ดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ที่เข้ามาเป็นผู้เล่นเพิ่มในตลาดรับสร้างบ้านอาจจะมีความได้เปรียบในบางเรื่อง แต่ก็ยังมีความแตกต่างจากการให้บริการของบริษัทรับสร้างบ้านในบางเรื่องเช่นกัน
ชี้ลูกค้าคนละตลาด-ชูจุดต่างโครงสร้างก่ออิฐ
อสังหาริมทรัพย์
ในขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อ-ขายต่อปี 300,000-400,000ล้านบาท และเป็นตลาดที่มีบริษัทพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยทั้งในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติก้าวเข้ามาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในแต่ละปีนับพันโครงการ จึงนับได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีความคึกคักมากๆ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวดี ต่างกับตลาดบ้านสร้างเอง ซึ่งมีมูลค่าตลาดสูงถึง 220,000 ล้านบาทต่อปี แต่กลับได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการสร้างบ้านมืออาชีพน้อยมาก
ทำให้นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลาดบ้านสร้างเองยังคงมีผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อย และบริษัทรับเหมาก่อสร้าง เป็นกลุ่มหลักที่ถือครองแชร์ตลาดนี้ โดยกินแชร์อยู่กว่า 80-90% สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากบ้านสร้างเองนั้นมีปัญหาในขั้นการดำเนินงานเยอะ ประกอบกับการบริหารจัดการต้นทุนทำได้ยาก โดยเฉพาะราคาวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากวอรูม ที่ผู้รับเหมาก่อสร้างมีไม่มาก ทำให้ต่อรองราคาวัสดุได้น้อย ค่าแรงงานก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริหารจัดการได้ยาก
ที่สำคัญลูกค้าในตลาดบ้านสร้างเองนั้นเป็นกลุ่มที่ตั้งงบในการสร้างบ้านไว้ต่ำ โดยเฉลี่ยแล้วการสร้างบ้านต่อหลังจะมีงบประมาณการก่อสร้าง 1-2 ล้านบาททำให้ตลาดบ้านสร้างเองมีอัตราการขยายตัวต่ำ จึงไม่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการอสังหาฯ กระทั่งเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา เกิดการรวมตัวของบริษัทสร้างบ้านมืออาชีพ ซึ่งนำสัญญาก่อสร้างมาตรฐานเข้ามาใช้ในการให้บริการลูกค้าเพื่อการันตี งานก่อสร้างว่าแล้วเสร็จตามกำหนด ได้มาตรฐาน และได้บ้านตรงตามแบบที่มีการตกลง กันไว้ ภายใต้ชื่อ "ธุรกิจรับสร้างบ้าน"
รูปแบบการดำเนินการดังกล่าวได้สร้างเกิดความเชื่อมั่นในกลุ่มลูกค้า และส่งผลให้ตลาดรับสร้างบ้านมีอัตราการขยายตัวที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยการเติบโตดังกล่าวเป็นการเติบโตในรูปแบบของการเข้าไปแชร์ส่วนแบ่งตลาดของ บริษัทรับเหมาก่อสร้างและผู้รับเหมารายย่อย ขณะเดียวกันด้วยการพัฒนาแบบบ้านที่หลากหลาย และการเปิดให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการออกแบบบ้าน ทำให้ลูกค้าพร้อมจะจ่ายและเพิ่มงบประมาณในการสร้างบ้านมากขึ้น
แนวโน้มดังกล่าวทำให้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาตลาดรับสร้างบ้านมีอัตราการขยายตัวที่ดีขึ้น และมูลค่าการสร้างบ้านต่อหลังยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่ในช่วง 20 ปีก่อนราคาสร้างบ้านต่อหลังอยู่ที่ 1-2 ล้านบาท ขยับขึ้นมาเป็น 3-5 ล้านบาท จนในปัจจุบันราคาสร้างบ้านต่อหลังเฉลี่ยอยู่ที่ 5-7 ล้านบาท และมีแนวโน้มว่างบประมาณในการสร้างบ้านจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหลักของบริษัทรับสร้างบ้านในปัจจุบัน คือกลุ่มบ้านระดับราคา 5-10 ล้านบาท
การไต่ระดับของราคาบ้านสร้างเองในปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบ การอสังหาฯรายใหญ่ให้ความสนใจก้าวเข้ามาทำตลาดในช่วงที่ผ่านมา โดย เอสซีจี ไฮม์ ในเครือ SCG นับเป็นรายแรกๆ ที่เข้ามาจับตลาดรับสร้างบ้านระดับบนเริ่มต้น10ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ ในปี 65 บริษัท ดี-แลนด์ กรุ๊ป จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในเขตกรุงเทพฯ ตอนใต้ พระราม 2 เป็นอีกรายที่ได้แตกไลน์ธุรกิจเข้าสู่ตลาดรับสร้างบ้านหลังเห็นสัญญาณภาพรวมธุรกิจรับสร้างบ้านมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ขณะที่กลุ่มพฤกษา โฮลดิ้งก็เป็นอีกรายที่ได้แตกบริษัทลูกเพื่อขยายธุรกิจไปยังตลาดรับสร้างบ้านอย่างจริงจัง ภายใต้ชื่อ "อินโนโฮม คอนสตรัคชัน" โดยมุ่งเน้นการให้บริการกับลูกค้ารายย่อยในระดับราคา 10-30 ล้านบาท
ล่าสุด บริษัทอสังหาฯรายใหญ่ไม่ว่าจะเป็น บริษัท พร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เพื่อหวังจะเติมเต็มธุรกิจอสังหาฯ ขณะที่ บมจ. แสนสิริ ก็เป็นอีกรายที่เปิดตัวบริการรับสร้างบ้านภายใต้ชื่อ "Crafted by Sansiri" ที่มีทั้งบ้านในสไตล์แสนสิริ รวมถึงการใช้วัสดุพรีคาสท์ในการก่อสร้าง ซึ่งช่วยให้กระบวนการก่อสร้างบ้านเป็นไปอย่างรวดเร็วตามมาตรฐานแสนสิริ ไม่เพียงแค่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าปัจจุบันที่อยากสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง
โดย "แสนสิริ" ยังมุ่งเน้นการให้บริการที่ครบวงจรตั้งแต่การออกแบบ การขอสินเชื่อ ไปจนถึงการก่อสร้างและบริการหลังการขาย ซึ่งได้จัดเตรียมบริการครบทุกขั้นตอนเพื่อรองรับทั้งลูกค้าที่มีที่ดิน และชื่นชอบดีไซน์ของแสนสิริ และผู้ประกอบการอสังหาฯรายย่อยที่ต้องการสร้างบ้านจำนวนไม่มาก โดยมี 14 ซีรีส์ 84 แบบบ้าน ตอบโจทย์ลูกค้าตามความต้องการเฉพาะตัว โดยได้เปิดตัวในงานมหกรรมบ้าน และ คอนโดฯที่ผ่านมา
ส.ไทยรับสร้างบ้านเชื่อรายใหญ่เข้าตลาดไม่กระทบ
นายนิรัญ โพธิ์ศรี นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน กล่าวแสดงความเห็นต่อกรณีการออกมาประกาศรุกตลาดรับสร้างบ้าน ของดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่หลายๆ ค่ายนั้น ไม่น่ากระทบกับผู้ประกอบการรับสร้างบ้านรายเดิมเพราะคนละตลาดกัน ตนมองว่าเป้าหมายคงจะรับสร้างบ้านให้กับลูกค้า เฉพาะในที่ดินของโครงการเป็นหลัก มิใช่เป็นการรับสร้างบ้านบนที่ดินลูกค้าทั่วไปตามตรอกซอกซอย ที่ผ่านมาดีเวลลอปเปอร์ส่วนใหญ่จะสร้างบ้านเสร็จก่อนขาย แต่ด้วยสถานการณ์ที่เผชิญกับกำลังซื้อผู้บริโภคและยอดขายที่ลดลงแรง กอปรกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความต้องการหลากหลาย แนวคิด "บ้านสั่งสร้าง" จึงถูกนำมาปัดฝุ่นเพื่อลดความเสี่ยงและรองรับความต้องการของผู้บริโภค การประกาศรุกตลาดรับสร้างบ้านเป็นเพียงสีสันทางการตลาดมากกว่า
"สำหรับกรณีเกิดแผ่นดินไหวและเกิดการถล่มของการก่อสร้างอาคารสูง รวมถึงคอนโดมิเนียมหลายแห่งเกิดการสั่นไหวรุนแรงและได้รับความเสียหายนั้น มีโอกาสและความเป็นไปได้สูงที่ผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่กำลังคิดจะมีที่อยู่อาศัยใหม่ จากเดิมอาจสนใจจะเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในเมือง แต่เมื่อประสบกับสถานการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ก็เกิดความวิตกกังวล และเปลี่ยนใจหันมาเลือกที่อยู่อาศัยแนวราบแทน แน่นอนว่า "รับสร้างบ้าน" เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคเช่นกัน โดยเฉพาะการเลือกสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเองหรือของพ่อแม่ที่มีอยู่แล้วในต่างจังหวัด ด้วยเพราะการทำงานในปัจจุบันของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่สามารถทำงานที่ใดก็ได้ สังเกตจากข่าวผู้ประสบภัยประชาชนจำนวนไม่น้อยนั่งทำงานอยู่บนคอนโดมิเนียมที่พักอาศัยของตัวเอง อย่างไรก็ดีความตกใจหรือกังวลนี้อาจเป็นแค่ระยะสั้นๆ ในช่วง 1-2 ปี เมื่อเวลาผ่านไปความวิตกกังวลก็คงคลายลงและกลับสู่ภาวะปกติ"
ในส่วนของภาพรวมธุรกิจรับสร้างบ้านไตรมาสแรก พบว่าบรรดาผู้ประกอบการรายใหญ่-รายเล็กต่างออกมาจัดกิจกรรมการตลาดและแข่งขันกัน อย่างคึกคัก ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ทั้ง ออฟไลน์และออนไลน์หลากหลาย รูปแบบที่จัดโปรโมชัน ลด แจก แถม ห วังกระตุ้นกำลังซื้อ และการตัดสินใจ ของผู้บริโภค แต่กลับพบว่าความต้องการสร้างบ้านของผู้บริโภคไม่คึกคักเท่าที่ควร เพราะ ส่วนใหญ่ยังคงชะลอการตัดสินใจสร้างบ้านออกไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้สถานการณ์การแข่งขันในไตรมาส 2 นี้มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะตลาดรับสร้างบ้านพื้นที่กรุงเทพฯ และพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งมีผู้ประกอบการรับสร้างบ้านรายใหญ่-รายเล็กแข่งขันกันอยู่จำนวนมาก นายนิรัญ กล่าว
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน
ด้าน นายอนันต์กร อมรวาที นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน กล่าวว่า จากการที่ดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ที่เข้ามาเป็นผู้เล่นเพิ่มในตลาดรับสร้างบ้านอาจจะมีความได้เปรียบในบางเรื่อง แต่ก็ยังมีความแตกต่างจากการให้บริการของบริษัทรับสร้างบ้านในบางเรื่องเช่นกัน
"การที่ดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ที่เข้ามาเป็นผู้เล่นเพิ่มในตลาดรับสร้างบ้าน จะมีความได้เปรียบในเรื่องของแบรนด์ซึ่งเป็นที่รู้จัก และความรวดเร็วในกระบวนการก่อสร้าง เนื่องจากทั้ง 2 ราย มีโรงงานพีคาส์เป็นของตนเอง อย่างไรก็ตาม กลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการรับสร้างบ้านจะมีความแตกต่างจากลูกค้าบ้านจัดสรร คือไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของความรวดเร็วเป็นหลัก แต่จะให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพมากกว่า และส่วนใหญ่ก็จะไม่นิยมโครงสร้างสำเร็จรูป แต่จะชอบโครงสร้างแบบก่ออิฐฉาบปูนแบบดั้งเดิม รวมไปจนถึงการให้บริการ ซึ่งความแตกต่างคือการบริการของบริษัทรับสร้างบ้านจะใช้สถาปนิกและวิศวกรดูแลด้านการออกแบบและให้คำปรึกษาตลอดตั้งแต่ต้นจนสร้างบ้านเสร็จ แต่ดีเวลลอปเปอร์จะใช้พนักงานขายกับวิศวกรให้บริการ ขณะที่บริษัทรับสร้างบ้านจะมีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการการรับสร้างบ้านหลายๆ พื้นที่ในช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่ดีเวลลอปเปอร์จะเชี่ยวชาญสร้างบ้านหลายหลังในพื้นที่เดียว และอาจจะมีแบบบ้านรองรับความต้องการของลูกค้าได้น้อยกว่า"นายอนันต์กร กล่าว
นายอนันต์กร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "แม้ดีเวลลอปเปอร์ที่ลงมาเล่นในตลาดจะมีความได้เปรียบในบางเรื่อง แต่ก็ไม่ได้มองว่าเขาจะมาชิงเค้กก้อน 10,000 ล้านบาทจากเรา แต่จะไปชิงเค้กก้อน 210,000 ล้านบาท ในส่วนของผู้รับเหมามากกว่า เพราะเค้ามาแข่งเรื่องความเร็วและมีแบบบ้านมาตรฐาน แต่หากจะแข่งขันด้านราคา ซึ่งตอนนี้เราไม่แน่ใจว่าเขาจะมาในราคาไหน หากลงมาเล่นในระดับราคา 30,000 บาท/ตร.ม.ขึ้นไป เราคงไม่สะเทือน แต่หากลงมาเล่นในราคา 15,000 บาท/ตร.ม.ก็อาจจะสะเทือน สำหรับบริษัทสมาชิกที่รับสร้างบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท และหากมาเล่นในระดับราคา 18,000 บาท/ตร.ม. ก็จะไปสะเทือนบริษัทสมาชิกที่รับสร้างบ้านราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรับสร้างบ้านก็ควรจะปรับตัวเพื่อรับมือ โดยดูว่าตนเองมีจุดเด่นในด้านใด และทำให้ลูกค้าเห็นถึงความแตกต่าง รวมทั้งต้องมีการพัฒนาสินค้าให้มีรูปแบบที่สวยงาม พัฒนาในเรื่องของคุณภาพ และการกำหนดราคาที่เหมาะสม ส่วนเรื่องแบรนด์ คงต้องทำทั้งสมาคม โดยการสร้างการรับรู้ให้สมาคมเป็นที่รู้จักมากขึ้น แม้ว่าสมาชิกบางรายจะมีแบรนด์ที่เข้มแข็งมากอยู่แล้ว"
"อย่างไรก็ตาม การที่มีดีเวลลอปเปอร์ลงมาเป็นผู้เล่นในตลาดนี้ก็มีข้อดี เพราะดีเวลลอปเปอร์ที่เข้ามาทำธุรกิจรับสร้างบ้าน เป็นดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจรับสร้างบ้านเป็นที่รู้จักมากขึ้น นอกจากนั้นผู้บริโภคก็จะมีทางเลือกมากขึ้น และทำให้ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านตื่นตัว เร่งสร้างจุดขายของตนเอง ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคเช่นกัน" นายอนันต์กร กล่าว
อสังหาริมทรัพย์
ในขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อ-ขายต่อปี 300,000-400,000ล้านบาท และเป็นตลาดที่มีบริษัทพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยทั้งในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติก้าวเข้ามาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในแต่ละปีนับพันโครงการ จึงนับได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีความคึกคักมากๆ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวดี ต่างกับตลาดบ้านสร้างเอง ซึ่งมีมูลค่าตลาดสูงถึง 220,000 ล้านบาทต่อปี แต่กลับได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการสร้างบ้านมืออาชีพน้อยมาก
ทำให้นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลาดบ้านสร้างเองยังคงมีผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อย และบริษัทรับเหมาก่อสร้าง เป็นกลุ่มหลักที่ถือครองแชร์ตลาดนี้ โดยกินแชร์อยู่กว่า 80-90% สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากบ้านสร้างเองนั้นมีปัญหาในขั้นการดำเนินงานเยอะ ประกอบกับการบริหารจัดการต้นทุนทำได้ยาก โดยเฉพาะราคาวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากวอรูม ที่ผู้รับเหมาก่อสร้างมีไม่มาก ทำให้ต่อรองราคาวัสดุได้น้อย ค่าแรงงานก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริหารจัดการได้ยาก
ที่สำคัญลูกค้าในตลาดบ้านสร้างเองนั้นเป็นกลุ่มที่ตั้งงบในการสร้างบ้านไว้ต่ำ โดยเฉลี่ยแล้วการสร้างบ้านต่อหลังจะมีงบประมาณการก่อสร้าง 1-2 ล้านบาททำให้ตลาดบ้านสร้างเองมีอัตราการขยายตัวต่ำ จึงไม่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการอสังหาฯ กระทั่งเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา เกิดการรวมตัวของบริษัทสร้างบ้านมืออาชีพ ซึ่งนำสัญญาก่อสร้างมาตรฐานเข้ามาใช้ในการให้บริการลูกค้าเพื่อการันตี งานก่อสร้างว่าแล้วเสร็จตามกำหนด ได้มาตรฐาน และได้บ้านตรงตามแบบที่มีการตกลง กันไว้ ภายใต้ชื่อ "ธุรกิจรับสร้างบ้าน"
รูปแบบการดำเนินการดังกล่าวได้สร้างเกิดความเชื่อมั่นในกลุ่มลูกค้า และส่งผลให้ตลาดรับสร้างบ้านมีอัตราการขยายตัวที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยการเติบโตดังกล่าวเป็นการเติบโตในรูปแบบของการเข้าไปแชร์ส่วนแบ่งตลาดของ บริษัทรับเหมาก่อสร้างและผู้รับเหมารายย่อย ขณะเดียวกันด้วยการพัฒนาแบบบ้านที่หลากหลาย และการเปิดให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการออกแบบบ้าน ทำให้ลูกค้าพร้อมจะจ่ายและเพิ่มงบประมาณในการสร้างบ้านมากขึ้น
แนวโน้มดังกล่าวทำให้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาตลาดรับสร้างบ้านมีอัตราการขยายตัวที่ดีขึ้น และมูลค่าการสร้างบ้านต่อหลังยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่ในช่วง 20 ปีก่อนราคาสร้างบ้านต่อหลังอยู่ที่ 1-2 ล้านบาท ขยับขึ้นมาเป็น 3-5 ล้านบาท จนในปัจจุบันราคาสร้างบ้านต่อหลังเฉลี่ยอยู่ที่ 5-7 ล้านบาท และมีแนวโน้มว่างบประมาณในการสร้างบ้านจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหลักของบริษัทรับสร้างบ้านในปัจจุบัน คือกลุ่มบ้านระดับราคา 5-10 ล้านบาท
การไต่ระดับของราคาบ้านสร้างเองในปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบ การอสังหาฯรายใหญ่ให้ความสนใจก้าวเข้ามาทำตลาดในช่วงที่ผ่านมา โดย เอสซีจี ไฮม์ ในเครือ SCG นับเป็นรายแรกๆ ที่เข้ามาจับตลาดรับสร้างบ้านระดับบนเริ่มต้น10ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ ในปี 65 บริษัท ดี-แลนด์ กรุ๊ป จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในเขตกรุงเทพฯ ตอนใต้ พระราม 2 เป็นอีกรายที่ได้แตกไลน์ธุรกิจเข้าสู่ตลาดรับสร้างบ้านหลังเห็นสัญญาณภาพรวมธุรกิจรับสร้างบ้านมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ขณะที่กลุ่มพฤกษา โฮลดิ้งก็เป็นอีกรายที่ได้แตกบริษัทลูกเพื่อขยายธุรกิจไปยังตลาดรับสร้างบ้านอย่างจริงจัง ภายใต้ชื่อ "อินโนโฮม คอนสตรัคชัน" โดยมุ่งเน้นการให้บริการกับลูกค้ารายย่อยในระดับราคา 10-30 ล้านบาท
ล่าสุด บริษัทอสังหาฯรายใหญ่ไม่ว่าจะเป็น บริษัท พร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เพื่อหวังจะเติมเต็มธุรกิจอสังหาฯ ขณะที่ บมจ. แสนสิริ ก็เป็นอีกรายที่เปิดตัวบริการรับสร้างบ้านภายใต้ชื่อ "Crafted by Sansiri" ที่มีทั้งบ้านในสไตล์แสนสิริ รวมถึงการใช้วัสดุพรีคาสท์ในการก่อสร้าง ซึ่งช่วยให้กระบวนการก่อสร้างบ้านเป็นไปอย่างรวดเร็วตามมาตรฐานแสนสิริ ไม่เพียงแค่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าปัจจุบันที่อยากสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง
โดย "แสนสิริ" ยังมุ่งเน้นการให้บริการที่ครบวงจรตั้งแต่การออกแบบ การขอสินเชื่อ ไปจนถึงการก่อสร้างและบริการหลังการขาย ซึ่งได้จัดเตรียมบริการครบทุกขั้นตอนเพื่อรองรับทั้งลูกค้าที่มีที่ดิน และชื่นชอบดีไซน์ของแสนสิริ และผู้ประกอบการอสังหาฯรายย่อยที่ต้องการสร้างบ้านจำนวนไม่มาก โดยมี 14 ซีรีส์ 84 แบบบ้าน ตอบโจทย์ลูกค้าตามความต้องการเฉพาะตัว โดยได้เปิดตัวในงานมหกรรมบ้าน และ คอนโดฯที่ผ่านมา
ส.ไทยรับสร้างบ้านเชื่อรายใหญ่เข้าตลาดไม่กระทบ
นายนิรัญ โพธิ์ศรี นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน กล่าวแสดงความเห็นต่อกรณีการออกมาประกาศรุกตลาดรับสร้างบ้าน ของดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่หลายๆ ค่ายนั้น ไม่น่ากระทบกับผู้ประกอบการรับสร้างบ้านรายเดิมเพราะคนละตลาดกัน ตนมองว่าเป้าหมายคงจะรับสร้างบ้านให้กับลูกค้า เฉพาะในที่ดินของโครงการเป็นหลัก มิใช่เป็นการรับสร้างบ้านบนที่ดินลูกค้าทั่วไปตามตรอกซอกซอย ที่ผ่านมาดีเวลลอปเปอร์ส่วนใหญ่จะสร้างบ้านเสร็จก่อนขาย แต่ด้วยสถานการณ์ที่เผชิญกับกำลังซื้อผู้บริโภคและยอดขายที่ลดลงแรง กอปรกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความต้องการหลากหลาย แนวคิด "บ้านสั่งสร้าง" จึงถูกนำมาปัดฝุ่นเพื่อลดความเสี่ยงและรองรับความต้องการของผู้บริโภค การประกาศรุกตลาดรับสร้างบ้านเป็นเพียงสีสันทางการตลาดมากกว่า
"สำหรับกรณีเกิดแผ่นดินไหวและเกิดการถล่มของการก่อสร้างอาคารสูง รวมถึงคอนโดมิเนียมหลายแห่งเกิดการสั่นไหวรุนแรงและได้รับความเสียหายนั้น มีโอกาสและความเป็นไปได้สูงที่ผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่กำลังคิดจะมีที่อยู่อาศัยใหม่ จากเดิมอาจสนใจจะเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในเมือง แต่เมื่อประสบกับสถานการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ก็เกิดความวิตกกังวล และเปลี่ยนใจหันมาเลือกที่อยู่อาศัยแนวราบแทน แน่นอนว่า "รับสร้างบ้าน" เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคเช่นกัน โดยเฉพาะการเลือกสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเองหรือของพ่อแม่ที่มีอยู่แล้วในต่างจังหวัด ด้วยเพราะการทำงานในปัจจุบันของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่สามารถทำงานที่ใดก็ได้ สังเกตจากข่าวผู้ประสบภัยประชาชนจำนวนไม่น้อยนั่งทำงานอยู่บนคอนโดมิเนียมที่พักอาศัยของตัวเอง อย่างไรก็ดีความตกใจหรือกังวลนี้อาจเป็นแค่ระยะสั้นๆ ในช่วง 1-2 ปี เมื่อเวลาผ่านไปความวิตกกังวลก็คงคลายลงและกลับสู่ภาวะปกติ"
ในส่วนของภาพรวมธุรกิจรับสร้างบ้านไตรมาสแรก พบว่าบรรดาผู้ประกอบการรายใหญ่-รายเล็กต่างออกมาจัดกิจกรรมการตลาดและแข่งขันกัน อย่างคึกคัก ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ทั้ง ออฟไลน์และออนไลน์หลากหลาย รูปแบบที่จัดโปรโมชัน ลด แจก แถม ห วังกระตุ้นกำลังซื้อ และการตัดสินใจ ของผู้บริโภค แต่กลับพบว่าความต้องการสร้างบ้านของผู้บริโภคไม่คึกคักเท่าที่ควร เพราะ ส่วนใหญ่ยังคงชะลอการตัดสินใจสร้างบ้านออกไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้สถานการณ์การแข่งขันในไตรมาส 2 นี้มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะตลาดรับสร้างบ้านพื้นที่กรุงเทพฯ และพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งมีผู้ประกอบการรับสร้างบ้านรายใหญ่-รายเล็กแข่งขันกันอยู่จำนวนมาก นายนิรัญ กล่าว
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน
ด้าน นายอนันต์กร อมรวาที นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน กล่าวว่า จากการที่ดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ที่เข้ามาเป็นผู้เล่นเพิ่มในตลาดรับสร้างบ้านอาจจะมีความได้เปรียบในบางเรื่อง แต่ก็ยังมีความแตกต่างจากการให้บริการของบริษัทรับสร้างบ้านในบางเรื่องเช่นกัน
"การที่ดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ที่เข้ามาเป็นผู้เล่นเพิ่มในตลาดรับสร้างบ้าน จะมีความได้เปรียบในเรื่องของแบรนด์ซึ่งเป็นที่รู้จัก และความรวดเร็วในกระบวนการก่อสร้าง เนื่องจากทั้ง 2 ราย มีโรงงานพีคาส์เป็นของตนเอง อย่างไรก็ตาม กลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการรับสร้างบ้านจะมีความแตกต่างจากลูกค้าบ้านจัดสรร คือไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของความรวดเร็วเป็นหลัก แต่จะให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพมากกว่า และส่วนใหญ่ก็จะไม่นิยมโครงสร้างสำเร็จรูป แต่จะชอบโครงสร้างแบบก่ออิฐฉาบปูนแบบดั้งเดิม รวมไปจนถึงการให้บริการ ซึ่งความแตกต่างคือการบริการของบริษัทรับสร้างบ้านจะใช้สถาปนิกและวิศวกรดูแลด้านการออกแบบและให้คำปรึกษาตลอดตั้งแต่ต้นจนสร้างบ้านเสร็จ แต่ดีเวลลอปเปอร์จะใช้พนักงานขายกับวิศวกรให้บริการ ขณะที่บริษัทรับสร้างบ้านจะมีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการการรับสร้างบ้านหลายๆ พื้นที่ในช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่ดีเวลลอปเปอร์จะเชี่ยวชาญสร้างบ้านหลายหลังในพื้นที่เดียว และอาจจะมีแบบบ้านรองรับความต้องการของลูกค้าได้น้อยกว่า"นายอนันต์กร กล่าว
นายอนันต์กร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "แม้ดีเวลลอปเปอร์ที่ลงมาเล่นในตลาดจะมีความได้เปรียบในบางเรื่อง แต่ก็ไม่ได้มองว่าเขาจะมาชิงเค้กก้อน 10,000 ล้านบาทจากเรา แต่จะไปชิงเค้กก้อน 210,000 ล้านบาท ในส่วนของผู้รับเหมามากกว่า เพราะเค้ามาแข่งเรื่องความเร็วและมีแบบบ้านมาตรฐาน แต่หากจะแข่งขันด้านราคา ซึ่งตอนนี้เราไม่แน่ใจว่าเขาจะมาในราคาไหน หากลงมาเล่นในระดับราคา 30,000 บาท/ตร.ม.ขึ้นไป เราคงไม่สะเทือน แต่หากลงมาเล่นในราคา 15,000 บาท/ตร.ม.ก็อาจจะสะเทือน สำหรับบริษัทสมาชิกที่รับสร้างบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท และหากมาเล่นในระดับราคา 18,000 บาท/ตร.ม. ก็จะไปสะเทือนบริษัทสมาชิกที่รับสร้างบ้านราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรับสร้างบ้านก็ควรจะปรับตัวเพื่อรับมือ โดยดูว่าตนเองมีจุดเด่นในด้านใด และทำให้ลูกค้าเห็นถึงความแตกต่าง รวมทั้งต้องมีการพัฒนาสินค้าให้มีรูปแบบที่สวยงาม พัฒนาในเรื่องของคุณภาพ และการกำหนดราคาที่เหมาะสม ส่วนเรื่องแบรนด์ คงต้องทำทั้งสมาคม โดยการสร้างการรับรู้ให้สมาคมเป็นที่รู้จักมากขึ้น แม้ว่าสมาชิกบางรายจะมีแบรนด์ที่เข้มแข็งมากอยู่แล้ว"
"อย่างไรก็ตาม การที่มีดีเวลลอปเปอร์ลงมาเป็นผู้เล่นในตลาดนี้ก็มีข้อดี เพราะดีเวลลอปเปอร์ที่เข้ามาทำธุรกิจรับสร้างบ้าน เป็นดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจรับสร้างบ้านเป็นที่รู้จักมากขึ้น นอกจากนั้นผู้บริโภคก็จะมีทางเลือกมากขึ้น และทำให้ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านตื่นตัว เร่งสร้างจุดขายของตนเอง ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคเช่นกัน" นายอนันต์กร กล่าว
ข่าววัสดุก่อสร้าง-เฟอร์นิเจอร์ อื่นๆ