'บีเคเอ' เร่งธุรกิจบ้านมือสองโต หลังเงินไอพีโอ 'ปลดล็อก' เพิ่มศักยภาพหนุนรายได้
วันที่ : 17 เมษายน 2568
"บีเคเอ" เร่งธุรกิจบ้านมือสองโต หลังเงินไอพีโอ "ปลดล็อก" เพิ่มศักยภาพหนุนรายได้ เสนอขายจำนวน 60 ล้านหุ้น ดีเดย์เทรดวันแรกตลาด mai ภายในไตรมาส 2 ปี 68
"บางกอก แอสเซท อินเตอร์กรุ๊ป" ประกาศเดินเกมรุก "ธุรกิจบ้านมือสอง" รับดีมานด์คึกคัก หลังเสนอขายไอพีโอ 60 ล้านหุ้น ใน ตลาด เอ็ม เอ ไอ หนุนช่วย "ปลดล็อก" เพิ่มขีดความสามารถขยายธุรกิจ-สร้างการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ และสยายปีกสู่แพลตฟอร์ม Prop Tech ดึงนวัตกรรม AI และ Virtual Reality สร้างมิติใหม่ในการดูบ้านเสมือนจริงทางออนไลน์
"ความต้องการ" ที่อยู่อาศัยยังมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี แต่ที่ผ่านมา "ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์" ต่างก็มี "ยอดขาย" ปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก "กำลังซื้อ" ในประเทศที่ถดถอยลง โดยเฉพาะสินค้าบ้านระดับต่ำกว่า 3 ล้านบาท เพราะส่วนใหญ่ถูกปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate)
ตรงข้าม "ตลาดบ้านมือสอง" โดยเฉพาะบ้านแนวราบมูลค่า 5-10 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของ บริษัท บางกอก แอสเซท อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BKA ผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการปรับปรุงบ้านมือสองเพื่อขาย กำลังจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ใน ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) จำนวนไม่เกิน 60 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท หรือคิดเป็นไม่เกิน 28.57% กลับเติบโตอย่างมาก
ณ ปัจจุบัน BKA เป็นผู้นำในธุรกิจบ้านมือสองตกแต่งใหม่ โดยมี 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจให้บริการปรับปรุงบ้านมือสองเพื่อขาย (Flipping), ธุรกิจนายหน้าซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการรับฝากขายบ้านมือสอง (ธุรกิจบ้านฝาก) และธุรกิจซื้อบ้านมือสองมาปรับปรุงเพื่อขาย (ธุรกิจบ้านตัด) เป็นต้น
นายพชร ธนวงศ์เกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอก แอสเซท อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BKA ให้สัมภาษณ์กับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า การตัดสินใจนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นครั้งนี้ ยอมรับเพราะต้องการแก้ไขปัญหา ข้อจำกัด สร้างการเติบโตของธุรกิจ และช่วยเพิ่มศักยภาพการทำธุรกิจ จากการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อนำไปขยายธุรกิจ สะท้อนผ่านเงินระดมทุนเสนอขาย IPO จะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนดำเนินงานเพื่อขยายการเติบโต
ทั้งจาก "การขยายพอร์ต" การให้บริการ "บ้านแต่ง" (Flipping) เพิ่มขึ้นเป็นหลัก รวมถึงนำไปพัฒนาธุรกิจ Property Technology (Prop Tech) โดยสร้าง Platform ตัวกลางในการซื้อขายอสังหาฯ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งผู้ต้องการซื้อและขายบ้านได้หลากหลายและมีจำนวนเพิ่มขึ้น
โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลให้แก่ผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน และเทคโนโลยีระบบเสมือนจริง (Virtual Reality) มาใช้แนะนำบ้านให้กับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านได้เห็นภาพบ้านเสมือนจริงทางออนไลน์
ดังนั้น ภายหลังบริษัทเข้าระดมทุนแล้ว บริษัทจะเน้นสร้างการเติบโต ด้วยการ "ให้บริการปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์ NPA แล้วระบายขายออกจากสถาบันการเงินและธุรกิจบริหารสินทรัพย์ หรือ AMC ซึ่งมีทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ในระบบจํานวนมากด้วยรูปแบบธุรกิจ Flipping (บ้านแต่ง) ซึ่งบ้านมือสองของ BKA ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าบ้านเดี่ยวตกแต่งใหม่ ในทําเลที่ดี และราคาคุ้มค่าต่อการลงทุน รวมทั้งบริษัทจะเร่งขยายพื้นที่การให้บริการเข้าไปใน "ตลาดพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน" จากเดิมบริษัททําตลาดอยู่ในจังหวัดนนทบุรีเป็นส่วนใหญ่ โดยเป้าหมาย 3-5 ปี จะเพิ่มสัดส่วนในกรุงเทพฯ ให้มากขึ้น เป็นพื้นที่หลักในการให้บริการ
ด้วย "จุดเด่น" ของ BKA คือ สินค้าบ้านเดี่ยวมือสองตกแต่งใหม่ระดับราคาตั้งแต่ 5-10 ล้านบาท ที่ตั้งอยู่ในทําเลที่ดี ปัจจุบันซัพพลายใหม่มือ 1 มีจำนวนน้อยมาก ด้วยปัจจัยต้นทุน ทั้งราคาที่ดิน ค่าแรง วัสดุก่อสร้าง ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ปัจจุบันผู้ประกอบการอสังหาฯ แทบไม่สามารถพัฒนาสินค้าบ้านเดี่ยวใหม่มือ 1 ในราคานี้ได้ ดังนั้น ปัจจัยดังกล่าว "เป็นผลบวก" ให้บริษัทมองเห็นถึงโอกาสในการเจาะตลาดบ้านเดี่ยวมือสองตกแต่งใหม่ดังกล่าวเพื่อสร้างการเติบโตอย่างมีนัยสําคัญ
สอดคล้องกับ "กลุ่มลูกค้า" เป้าหมายหลัก เป็นกลุ่มคนที่ไม่ใช่วัยเริ่มต้นทำงาน แต่เป็นกลุ่มคนทํางานที่มีฐานเงินเดือนที่มั่นคง มีความสามารถในการใช้จ่าย ต้องการขยายครอบครัว ดังนั้น Rejection Rate ในกลุ่มนี้จึงค่อนข้างอยู่ระดับตํ่า การนําบ้านมือสองมาปรับปรุงใหม่ให้มีความโมเดิร์นมากขึ้น ยิ่งตรงต่อความต้องการลูกค้า กลุ่มนี้ทําให้ยอดขายบ้านของบริษัทยังมีอัตราการเติบโตที่ดีต่อเนื่อง
ทั้งนี้ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา บีเคเอ สามารถขายบ้านมือสองได้ประมาณ 250-400 หลังต่อปี โดยมีผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี 2565-2567 มีกำไรสุทธิเติบโตอย่างต่อเนื่อง 21.44 ล้านบาท, 22.27 ล้านบาท และ 36.82 ล้านบาท ตามลำดับ โดยธุรกิจบ้านแต่งซึ่งเป็นการให้บริการซื้อขายบ้านมือสองพร้อมปรับปรุงหรือ Flipping คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 80% ของพอร์ตรวม ทั้งนี้ การเข้าตลาด mai ครั้งนี้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
"เราเน้นธุรกิจบ้านแต่งเป็นหลัก เพราะเป็นบ้านมือสองตกแต่งใหม่ที่ใช้เงินลงทุนต่ำแต่ให้ผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับการซื้อบ้านมาปรับปรุงเพื่อขาย (บ้านตัด) ที่สำคัญเป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโต และยังไม่มีคู่แข่งรายใหญ่ในตลาด"
สะท้อนผ่านด้วยศักยภาพและจุดเด่นดังกล่าว สะท้อนถึงผลการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2565-2567 มีกำไรสุทธิ 21.44 ล้านบาท 22.27 ล้านบาท และ 36.82 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่รายได้รวม 1,302.92 ล้านบาท 1,313.59 ล้านบาท และ 1,142.46 ล้านบาท ตามลำดับ
ท้ายสุด มุ่งหวังจะเป็นตัวกลางให้บริการ แก้ปัญหา ของผู้ที่อยากขายบ้าน แต่ไม่มีเวลา ไม่มีความรู้ประสบการณ์ในการเตรียมบ้านให้มีความพร้อม ในขณะเดียวกันต้องการช่วยผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยในทำเลที่ดี ด้วยงบประมาณที่เหมาะสม เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตของธุรกิจซื้อขายบ้านมือสองในประเทศไทย
"ความต้องการ" ที่อยู่อาศัยยังมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี แต่ที่ผ่านมา "ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์" ต่างก็มี "ยอดขาย" ปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก "กำลังซื้อ" ในประเทศที่ถดถอยลง โดยเฉพาะสินค้าบ้านระดับต่ำกว่า 3 ล้านบาท เพราะส่วนใหญ่ถูกปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate)
ตรงข้าม "ตลาดบ้านมือสอง" โดยเฉพาะบ้านแนวราบมูลค่า 5-10 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของ บริษัท บางกอก แอสเซท อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BKA ผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการปรับปรุงบ้านมือสองเพื่อขาย กำลังจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ใน ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) จำนวนไม่เกิน 60 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท หรือคิดเป็นไม่เกิน 28.57% กลับเติบโตอย่างมาก
ณ ปัจจุบัน BKA เป็นผู้นำในธุรกิจบ้านมือสองตกแต่งใหม่ โดยมี 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจให้บริการปรับปรุงบ้านมือสองเพื่อขาย (Flipping), ธุรกิจนายหน้าซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการรับฝากขายบ้านมือสอง (ธุรกิจบ้านฝาก) และธุรกิจซื้อบ้านมือสองมาปรับปรุงเพื่อขาย (ธุรกิจบ้านตัด) เป็นต้น
นายพชร ธนวงศ์เกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอก แอสเซท อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BKA ให้สัมภาษณ์กับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า การตัดสินใจนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นครั้งนี้ ยอมรับเพราะต้องการแก้ไขปัญหา ข้อจำกัด สร้างการเติบโตของธุรกิจ และช่วยเพิ่มศักยภาพการทำธุรกิจ จากการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อนำไปขยายธุรกิจ สะท้อนผ่านเงินระดมทุนเสนอขาย IPO จะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนดำเนินงานเพื่อขยายการเติบโต
ทั้งจาก "การขยายพอร์ต" การให้บริการ "บ้านแต่ง" (Flipping) เพิ่มขึ้นเป็นหลัก รวมถึงนำไปพัฒนาธุรกิจ Property Technology (Prop Tech) โดยสร้าง Platform ตัวกลางในการซื้อขายอสังหาฯ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งผู้ต้องการซื้อและขายบ้านได้หลากหลายและมีจำนวนเพิ่มขึ้น
โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลให้แก่ผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน และเทคโนโลยีระบบเสมือนจริง (Virtual Reality) มาใช้แนะนำบ้านให้กับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านได้เห็นภาพบ้านเสมือนจริงทางออนไลน์
ดังนั้น ภายหลังบริษัทเข้าระดมทุนแล้ว บริษัทจะเน้นสร้างการเติบโต ด้วยการ "ให้บริการปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์ NPA แล้วระบายขายออกจากสถาบันการเงินและธุรกิจบริหารสินทรัพย์ หรือ AMC ซึ่งมีทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ในระบบจํานวนมากด้วยรูปแบบธุรกิจ Flipping (บ้านแต่ง) ซึ่งบ้านมือสองของ BKA ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าบ้านเดี่ยวตกแต่งใหม่ ในทําเลที่ดี และราคาคุ้มค่าต่อการลงทุน รวมทั้งบริษัทจะเร่งขยายพื้นที่การให้บริการเข้าไปใน "ตลาดพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน" จากเดิมบริษัททําตลาดอยู่ในจังหวัดนนทบุรีเป็นส่วนใหญ่ โดยเป้าหมาย 3-5 ปี จะเพิ่มสัดส่วนในกรุงเทพฯ ให้มากขึ้น เป็นพื้นที่หลักในการให้บริการ
ด้วย "จุดเด่น" ของ BKA คือ สินค้าบ้านเดี่ยวมือสองตกแต่งใหม่ระดับราคาตั้งแต่ 5-10 ล้านบาท ที่ตั้งอยู่ในทําเลที่ดี ปัจจุบันซัพพลายใหม่มือ 1 มีจำนวนน้อยมาก ด้วยปัจจัยต้นทุน ทั้งราคาที่ดิน ค่าแรง วัสดุก่อสร้าง ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ปัจจุบันผู้ประกอบการอสังหาฯ แทบไม่สามารถพัฒนาสินค้าบ้านเดี่ยวใหม่มือ 1 ในราคานี้ได้ ดังนั้น ปัจจัยดังกล่าว "เป็นผลบวก" ให้บริษัทมองเห็นถึงโอกาสในการเจาะตลาดบ้านเดี่ยวมือสองตกแต่งใหม่ดังกล่าวเพื่อสร้างการเติบโตอย่างมีนัยสําคัญ
สอดคล้องกับ "กลุ่มลูกค้า" เป้าหมายหลัก เป็นกลุ่มคนที่ไม่ใช่วัยเริ่มต้นทำงาน แต่เป็นกลุ่มคนทํางานที่มีฐานเงินเดือนที่มั่นคง มีความสามารถในการใช้จ่าย ต้องการขยายครอบครัว ดังนั้น Rejection Rate ในกลุ่มนี้จึงค่อนข้างอยู่ระดับตํ่า การนําบ้านมือสองมาปรับปรุงใหม่ให้มีความโมเดิร์นมากขึ้น ยิ่งตรงต่อความต้องการลูกค้า กลุ่มนี้ทําให้ยอดขายบ้านของบริษัทยังมีอัตราการเติบโตที่ดีต่อเนื่อง
ทั้งนี้ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา บีเคเอ สามารถขายบ้านมือสองได้ประมาณ 250-400 หลังต่อปี โดยมีผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี 2565-2567 มีกำไรสุทธิเติบโตอย่างต่อเนื่อง 21.44 ล้านบาท, 22.27 ล้านบาท และ 36.82 ล้านบาท ตามลำดับ โดยธุรกิจบ้านแต่งซึ่งเป็นการให้บริการซื้อขายบ้านมือสองพร้อมปรับปรุงหรือ Flipping คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 80% ของพอร์ตรวม ทั้งนี้ การเข้าตลาด mai ครั้งนี้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
"เราเน้นธุรกิจบ้านแต่งเป็นหลัก เพราะเป็นบ้านมือสองตกแต่งใหม่ที่ใช้เงินลงทุนต่ำแต่ให้ผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับการซื้อบ้านมาปรับปรุงเพื่อขาย (บ้านตัด) ที่สำคัญเป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโต และยังไม่มีคู่แข่งรายใหญ่ในตลาด"
สะท้อนผ่านด้วยศักยภาพและจุดเด่นดังกล่าว สะท้อนถึงผลการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2565-2567 มีกำไรสุทธิ 21.44 ล้านบาท 22.27 ล้านบาท และ 36.82 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่รายได้รวม 1,302.92 ล้านบาท 1,313.59 ล้านบาท และ 1,142.46 ล้านบาท ตามลำดับ
ท้ายสุด มุ่งหวังจะเป็นตัวกลางให้บริการ แก้ปัญหา ของผู้ที่อยากขายบ้าน แต่ไม่มีเวลา ไม่มีความรู้ประสบการณ์ในการเตรียมบ้านให้มีความพร้อม ในขณะเดียวกันต้องการช่วยผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยในทำเลที่ดี ด้วยงบประมาณที่เหมาะสม เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตของธุรกิจซื้อขายบ้านมือสองในประเทศไทย
ข่าวบ้านมือสอง อื่นๆ