'ลดค่าโอน-จดจำนอง' มีผลใช้ ดันโล๊ะสต๊อกอสังหาฯ 1.3 ล้านล้าน
วันที่ : 24 เมษายน 2568
คลัง เปิดเผยว่า มาตรการลดค่าโอนและวงเงินจำนอง ที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ช่วยรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน
มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ "ลดค่าโอน-จดจำนอง" ที่อยู่อาศัยไม่เกิน 7 ล้าน มีผลใช้ 22 เม.ย. เกณฑ์ LTV เริ่มใช้ 1 พ.ค.กู้ 100% ทุกราคา-สัญญา หมดอายุพร้อมกัน 30 มิ.ย. 69 หนุน กลุ่มกำลังซื้อสูง นักลงทุน นำเงินออกซื้อบ้านง่ายขึ้น ช่วยระบายสต๊อก ที่อยู่อาศัยในตลาด 1.3 ล้านล้าน ให้เบาลง
ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีสีสันขึ้น เมื่อมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน และจดจำนอง เหลือ 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัย ราคาไม่เกิน 7 ล้านบาทมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2569 หลัง เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงนามโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา
ช่วยให้ประชาชนที่มีความพร้อม ตลอดจนกลุ่มกำลังซื้อสูง รวมถึงนักลงทุน ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยง่ายขึ้น เนื่องจากช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้มาก เช่น ที่อยู่อาศัยราคา 7 ล้านบาท เดิมค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2% 140,000 บาท เมื่อลดเหลือ 0.01% เหลือเพียง 700 บาท ขณะค่าจดจำนอง สำหรับบ้านราคา 7 ล้านบาท เดิม 1% ต้องเสียค่าใช่จ่าย 70,000 บาท เมื่อลดค่าจดจำนองลง เหลือ 0.01% จะเหลือเพียง 700 บาท รวมแล้วจะเสียค่าใช้จ่ายเพียง 1,400 บาท จากปกติ รวม 210,000บาท
ขณะเดียวกัน ยังมี มาตรการผ่อนผัน หลักเกณฑ์อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) หรือเกณฑ์ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กู้ได้ 100% ทุกระดับราคาทุกสัญญา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2569 แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินจะปล่อยสินเชื่อหรือไม่
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า มาตรการดังกล่าวจะไม่สามารถต้านทานปัจจัยลบ ทั้งเหตุแผ่นดินไหว รวมถึงนโยบายภาษีตอบโต้ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็ตาม ในทางกลับกัน จะช่วยประคับประคองไม่ให้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ทรุดลงไปมากกว่านี้ ที่สำคัญได้ช่วย ระบายสต๊อกที่มีอยู่ให้ลดลง โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตัวเลขไตรมาส 4 ปี2567 ที่มีจำนวนหน่วยเหลือขายสูงถึง 215,800 หน่วย เพิ่มขึ้น 10.2% มูลค่า 1,313,487 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทุกระดับราคา คาดใช้เวลาในการขาย 49 เดือน ตามการสำรวจของศูนย์ข้อมูลอสังหา ริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ด้านแหล่งข่าวจากกรมที่ดินระบุว่ากรมที่ดิน พร้อมให้บริการประชาชนที่มาใช้บริการตามมาตรการดังกล่าว เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และส่งเสริมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมต่อไป
สำหรับสาระสำคัญ ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์อันเนื่องมาจากการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวในคราวเดียวกัน 0.01% สำหรับกรณีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าว ซึ่งมีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาท
และให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนห้องชุดและค่าจดทะเบียนการจำนองห้องชุด อันเนื่องมาจากการจดทะเบียนโอนห้องชุดดังกล่าวในคราวเดียวกัน 0.01% สำหรับกรณีการโอนกรรมสิทธิ์และการจำนองห้องชุดในอาคารชุดที่จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ซึ่งมีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาทสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2568 (วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา) ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569
นายสุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า มาตรการดังกล่าวช่วยประคองตลาดอสังหาริมทรัพย์ ได้ในระดับหนึ่ง แต่ปัญหาใหญ่ มีปัจจัยลบอยู่มาก ขณะสถาบันการเงินยังเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย มองว่า นับเป็นเรื่องที่ดีแม้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะมีผลกระทบรอบด้าน แต่ทั้งสองมาตรการจะช่วยให้กลุ่มกำลังซื้อสูงและนักลงทุนออกมา
เช่นเดียวกับ นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย มองว่าแม้จะมีผลกระทบรอบด้าน แต่มองว่ามาตรการดังกล่าวที่ออกมาช่วยประคองตลาดอสังหาริมทรัพย์ให้เดินต่อได้ แต่ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ เปลี่ยนทั้งแผ่นดินไหวและนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐฯ มองว่ารัฐบาลต้องมียาแรงออกมากระตุ้น มากกว่านี้
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการลดค่าโอนและวงเงินจำนอง ที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ช่วยรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน รวมถึงส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศให้เกิดการจ้างงานและการผลิต ซึ่งสอดรับกับมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV ของธปท.เพื่อประคับประคองภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยบรรเทาปัญหาอุปทานคงค้างที่อยู่ในระดับสูง
ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีสีสันขึ้น เมื่อมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน และจดจำนอง เหลือ 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัย ราคาไม่เกิน 7 ล้านบาทมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2569 หลัง เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงนามโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา
ช่วยให้ประชาชนที่มีความพร้อม ตลอดจนกลุ่มกำลังซื้อสูง รวมถึงนักลงทุน ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยง่ายขึ้น เนื่องจากช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้มาก เช่น ที่อยู่อาศัยราคา 7 ล้านบาท เดิมค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2% 140,000 บาท เมื่อลดเหลือ 0.01% เหลือเพียง 700 บาท ขณะค่าจดจำนอง สำหรับบ้านราคา 7 ล้านบาท เดิม 1% ต้องเสียค่าใช่จ่าย 70,000 บาท เมื่อลดค่าจดจำนองลง เหลือ 0.01% จะเหลือเพียง 700 บาท รวมแล้วจะเสียค่าใช้จ่ายเพียง 1,400 บาท จากปกติ รวม 210,000บาท
ขณะเดียวกัน ยังมี มาตรการผ่อนผัน หลักเกณฑ์อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) หรือเกณฑ์ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กู้ได้ 100% ทุกระดับราคาทุกสัญญา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2569 แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินจะปล่อยสินเชื่อหรือไม่
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า มาตรการดังกล่าวจะไม่สามารถต้านทานปัจจัยลบ ทั้งเหตุแผ่นดินไหว รวมถึงนโยบายภาษีตอบโต้ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็ตาม ในทางกลับกัน จะช่วยประคับประคองไม่ให้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ทรุดลงไปมากกว่านี้ ที่สำคัญได้ช่วย ระบายสต๊อกที่มีอยู่ให้ลดลง โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตัวเลขไตรมาส 4 ปี2567 ที่มีจำนวนหน่วยเหลือขายสูงถึง 215,800 หน่วย เพิ่มขึ้น 10.2% มูลค่า 1,313,487 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทุกระดับราคา คาดใช้เวลาในการขาย 49 เดือน ตามการสำรวจของศูนย์ข้อมูลอสังหา ริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ด้านแหล่งข่าวจากกรมที่ดินระบุว่ากรมที่ดิน พร้อมให้บริการประชาชนที่มาใช้บริการตามมาตรการดังกล่าว เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และส่งเสริมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมต่อไป
สำหรับสาระสำคัญ ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์อันเนื่องมาจากการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวในคราวเดียวกัน 0.01% สำหรับกรณีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าว ซึ่งมีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาท
และให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนห้องชุดและค่าจดทะเบียนการจำนองห้องชุด อันเนื่องมาจากการจดทะเบียนโอนห้องชุดดังกล่าวในคราวเดียวกัน 0.01% สำหรับกรณีการโอนกรรมสิทธิ์และการจำนองห้องชุดในอาคารชุดที่จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ซึ่งมีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาทสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2568 (วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา) ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569
นายสุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า มาตรการดังกล่าวช่วยประคองตลาดอสังหาริมทรัพย์ ได้ในระดับหนึ่ง แต่ปัญหาใหญ่ มีปัจจัยลบอยู่มาก ขณะสถาบันการเงินยังเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย มองว่า นับเป็นเรื่องที่ดีแม้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะมีผลกระทบรอบด้าน แต่ทั้งสองมาตรการจะช่วยให้กลุ่มกำลังซื้อสูงและนักลงทุนออกมา
เช่นเดียวกับ นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย มองว่าแม้จะมีผลกระทบรอบด้าน แต่มองว่ามาตรการดังกล่าวที่ออกมาช่วยประคองตลาดอสังหาริมทรัพย์ให้เดินต่อได้ แต่ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ เปลี่ยนทั้งแผ่นดินไหวและนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐฯ มองว่ารัฐบาลต้องมียาแรงออกมากระตุ้น มากกว่านี้
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการลดค่าโอนและวงเงินจำนอง ที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ช่วยรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน รวมถึงส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศให้เกิดการจ้างงานและการผลิต ซึ่งสอดรับกับมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV ของธปท.เพื่อประคับประคองภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยบรรเทาปัญหาอุปทานคงค้างที่อยู่ในระดับสูง
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาครัฐ อื่นๆ