คอนโดไทยในสายตาต่างชาติ สินทรัพย์เพื่อเก็งกำไร -บ้านหลังที่สอง
วันที่ : 16 เมษายน 2568
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยข้อมูลว่า ในปี 2567 มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติในไทย รวมทั้งสิ้น 14,573 หน่วย เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า 0.9% แต่ที่น่าจับตาคือ มูลค่ารวมกลับลดลง -6.8% เหลือ 68,182 ล้านบาท
ในโลกที่เศรษฐกิจผันผวน ตลาดการลงทุนเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนส่งผลให้เงินหยวน เงินจ๊าด เงินรูปี หลั่งไหลเข้ามาซื้อคอนโดไทยเพื่อเก็งกำไร -บ้านหลังที่สอง
รายงานล่าสุดจาก ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยข้อมูลว่า ในปี 2567มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติในไทย รวมทั้งสิ้น 14,573 หน่วยเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า 0.9% แต่ที่น่าจับตาคือ มูลค่ารวมกลับลดลง -6.8% เหลือ 68,182 ล้านบาท หมายความว่า…แม้จำนวนห้องที่โอนจะมากขึ้น แต่ราคากลับ “ลดลง” สะท้อนให้เห็นว่า คนต่างชาติอาจเปลี่ยนพฤติกรรมจากการซื้อห้องราคาสูง มาเป็นห้องขนาดเล็ก ราคาจับต้องได้มากขึ้น
กรุงเทพฯ และชลบุรี เมืองยอดนิยม
เมื่อเจาะลึกลงในทำเล พบว่า กรุงเทพฯ ยังคงเป็นอันดับหนึ่งที่ครองใจนักลงทุนต่างชาติ คิดเป็น 39.0% ตามมาติดๆ คือ ชลบุรี ที่มีสัดส่วน 35.1%แค่ 2 จังหวัดนี้รวมกันกินส่วนแบ่งมากถึง 74.1% ของจำนวนห้องชุดและมากถึง 80.6% ของมูลค่ารวมทั้งประเทศ
คำถามคือ... ทำไม “ชลบุรี” ถึงมาแรงขนาดนี้? คำตอบอาจอยู่ที่ “พัทยา” ที่ขึ้นแท่นเมืองท่องเที่ยว-พักอาศัยระดับนานาชาติที่คนต่างชาติเข้า-ออกง่าย มีชายหาด มีคอนโดเห็นวิวทะเลในราคาต่ำกว่าฮ่องกงและสิงคโปร์หลายเท่า
ใครซื้อเยอะ ใครจ่ายหนัก?
หากพูดถึงสัญชาติของผู้ซื้อ ไม่พลิกโผ"จีน" ยังคงครองอันดับ 1 อย่างเหนียวแน่นด้วยสัดส่วน 38.9% ของจำนวนหน่วย และ 39.0% ของมูลค่า แม้เศรษฐกิจในประเทศจะชะลอตัว แต่จีนยังมองอสังหาฯไทยเป็น "ที่ปลอดภัยของเงิน" เมียนมา ตามมาเป็นอันดับ 2 ด้วย 9.5% ของจำนวน และ 10.3% ของมูลค่ารัสเซีย อันดับ 3 ที่แม้เศรษฐกิจบ้านตัวเองจะไม่มั่นคง แต่เงินยังไหลเข้ามาซื้ออสังหาฯไทย 7.4% ของจำนวน และ 5.4% ของมูลค่า
ที่น่าจับตาอย่างยิ่งคือ "อินเดีย" ซึ่งไม่ใช่ผู้ซื้อจำนวนมากที่สุดแต่กลับเป็นกลุ่มที่ ซื้อห้องใหญ่-ราคาสูง เฉลี่ยถึง 5.9 ล้านบาทต่อหน่วยและมีขนาดห้องเฉลี่ยที่ 71.6 ตร.ม. มากที่สุดในบรรดาทุกสัญชาติในขณะที่ชาวจีน ซึ่งซื้อเยอะที่สุดกลับเฉลี่ยอยู่ที่ 4.6 ล้านบาท/ยูนิต และ 39.2 ตร.ม. ต่อห้องสะท้อนให้เห็นพฤติกรรมของ “จำนวนมาก แต่เล็กลง” อย่างชัดเจน
สัญญาณอะไรที่ซ่อนอยู่หลังตัวเลข?
แม้จำนวนหน่วยจะเพิ่มขึ้น แต่มูลค่ากลับ "ลดลง" นี่อาจเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงจาก “นักลงทุน” ที่ซื้อเก็งกำไร หรือปล่อยเช่ามาเป็น “ผู้อยู่อาศัยจริง” ที่มองหาที่พักอาศัยขนาดย่อมในประเทศที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูง และยังใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายและหากวิเคราะห์ต่อไปอีกขั้นคนต่างชาติอาจกำลังเปลี่ยนมุมมองต่อ “คอนโดไทย”จากเดิมที่เป็นเพียง “สินทรัพย์เพื่อเก็งกำไร”กลายมาเป็น “บ้านหลังที่สอง” ในวันที่โลกปั่นป่วน
โอกาสของไทย หรือบททดสอบ?
การที่ชาวต่างชาติยังคงมองไทยเป็นแหล่งลงทุน คือโอกาสสำคัญที่อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไม่ควรมองข้ามแต่ในขณะเดียวกันการพึ่งพาเงินจากต่างประเทศมากเกินไปก็อาจกลายเป็นความเสี่ยง หากวันใด "กระแสเงิน" หันหลังให้ตลาดอสังหาฯไทยจึงอยู่ในจุดเปลี่ยนอีกครั้งระหว่าง “การเติบโตที่ยั่งยืน” หรือ “แค่คลื่นวูบหนึ่ง”
คำถามสำคัญคือ...เราจะเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้แค่ไหน? หรือจะปล่อยให้ต่างชาติเข้ามาซื้อ...โดยที่เราเป็นเพียง “เจ้าของพื้นที่” แต่ไม่ใช่ “เจ้าของเกม”
รายงานล่าสุดจาก ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยข้อมูลว่า ในปี 2567มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติในไทย รวมทั้งสิ้น 14,573 หน่วยเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า 0.9% แต่ที่น่าจับตาคือ มูลค่ารวมกลับลดลง -6.8% เหลือ 68,182 ล้านบาท หมายความว่า…แม้จำนวนห้องที่โอนจะมากขึ้น แต่ราคากลับ “ลดลง” สะท้อนให้เห็นว่า คนต่างชาติอาจเปลี่ยนพฤติกรรมจากการซื้อห้องราคาสูง มาเป็นห้องขนาดเล็ก ราคาจับต้องได้มากขึ้น
กรุงเทพฯ และชลบุรี เมืองยอดนิยม
เมื่อเจาะลึกลงในทำเล พบว่า กรุงเทพฯ ยังคงเป็นอันดับหนึ่งที่ครองใจนักลงทุนต่างชาติ คิดเป็น 39.0% ตามมาติดๆ คือ ชลบุรี ที่มีสัดส่วน 35.1%แค่ 2 จังหวัดนี้รวมกันกินส่วนแบ่งมากถึง 74.1% ของจำนวนห้องชุดและมากถึง 80.6% ของมูลค่ารวมทั้งประเทศ
คำถามคือ... ทำไม “ชลบุรี” ถึงมาแรงขนาดนี้? คำตอบอาจอยู่ที่ “พัทยา” ที่ขึ้นแท่นเมืองท่องเที่ยว-พักอาศัยระดับนานาชาติที่คนต่างชาติเข้า-ออกง่าย มีชายหาด มีคอนโดเห็นวิวทะเลในราคาต่ำกว่าฮ่องกงและสิงคโปร์หลายเท่า
ใครซื้อเยอะ ใครจ่ายหนัก?
หากพูดถึงสัญชาติของผู้ซื้อ ไม่พลิกโผ"จีน" ยังคงครองอันดับ 1 อย่างเหนียวแน่นด้วยสัดส่วน 38.9% ของจำนวนหน่วย และ 39.0% ของมูลค่า แม้เศรษฐกิจในประเทศจะชะลอตัว แต่จีนยังมองอสังหาฯไทยเป็น "ที่ปลอดภัยของเงิน" เมียนมา ตามมาเป็นอันดับ 2 ด้วย 9.5% ของจำนวน และ 10.3% ของมูลค่ารัสเซีย อันดับ 3 ที่แม้เศรษฐกิจบ้านตัวเองจะไม่มั่นคง แต่เงินยังไหลเข้ามาซื้ออสังหาฯไทย 7.4% ของจำนวน และ 5.4% ของมูลค่า
ที่น่าจับตาอย่างยิ่งคือ "อินเดีย" ซึ่งไม่ใช่ผู้ซื้อจำนวนมากที่สุดแต่กลับเป็นกลุ่มที่ ซื้อห้องใหญ่-ราคาสูง เฉลี่ยถึง 5.9 ล้านบาทต่อหน่วยและมีขนาดห้องเฉลี่ยที่ 71.6 ตร.ม. มากที่สุดในบรรดาทุกสัญชาติในขณะที่ชาวจีน ซึ่งซื้อเยอะที่สุดกลับเฉลี่ยอยู่ที่ 4.6 ล้านบาท/ยูนิต และ 39.2 ตร.ม. ต่อห้องสะท้อนให้เห็นพฤติกรรมของ “จำนวนมาก แต่เล็กลง” อย่างชัดเจน
สัญญาณอะไรที่ซ่อนอยู่หลังตัวเลข?
แม้จำนวนหน่วยจะเพิ่มขึ้น แต่มูลค่ากลับ "ลดลง" นี่อาจเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงจาก “นักลงทุน” ที่ซื้อเก็งกำไร หรือปล่อยเช่ามาเป็น “ผู้อยู่อาศัยจริง” ที่มองหาที่พักอาศัยขนาดย่อมในประเทศที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูง และยังใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายและหากวิเคราะห์ต่อไปอีกขั้นคนต่างชาติอาจกำลังเปลี่ยนมุมมองต่อ “คอนโดไทย”จากเดิมที่เป็นเพียง “สินทรัพย์เพื่อเก็งกำไร”กลายมาเป็น “บ้านหลังที่สอง” ในวันที่โลกปั่นป่วน
โอกาสของไทย หรือบททดสอบ?
การที่ชาวต่างชาติยังคงมองไทยเป็นแหล่งลงทุน คือโอกาสสำคัญที่อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไม่ควรมองข้ามแต่ในขณะเดียวกันการพึ่งพาเงินจากต่างประเทศมากเกินไปก็อาจกลายเป็นความเสี่ยง หากวันใด "กระแสเงิน" หันหลังให้ตลาดอสังหาฯไทยจึงอยู่ในจุดเปลี่ยนอีกครั้งระหว่าง “การเติบโตที่ยั่งยืน” หรือ “แค่คลื่นวูบหนึ่ง”
คำถามสำคัญคือ...เราจะเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้แค่ไหน? หรือจะปล่อยให้ต่างชาติเข้ามาซื้อ...โดยที่เราเป็นเพียง “เจ้าของพื้นที่” แต่ไม่ใช่ “เจ้าของเกม”
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ